พอดีพึ่งซื้อกล้อง DSLR ตัวใหม่มาเมื่อเดือนกันยาปีนี้ เป็น Nikon D90 เลยกำลังศึกษาวิธีใช้จากคู่มือแนะนำการใช้งาน เลยเก็บตกส่วนที่สำคัญๆ เขียนเก็บไว้สักหน่อย
1.เรื่องค่าความไวแสง (Sensitivity หรือ ISO)
คงต้องกล่าวไปถึงความสว่างของกล้องฟิล์มในสมัยก่อนกัน
กล้องฟิล์มในสมัยก่อนจะมีมาตรฐานการวัดแสงที่เข้าในแผ่นฟิล์มภาพในหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็จะมีเลขกำกับปริมาณค่าตัวเลขเหล่านั้นด้วย ที่เราเคยๆได้ยินกัน ISO เท่าไหรถึงเท่าไหรนั้นแหละครับ ส่วนใหญ่ตัวเลขจะมีตั้งแต่เลข 200 -3200 (อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นกับอุปกรณ์การถ่าย)
โดยที่ค่าของความไวแสง หรือ ISO นั้นเป็นค่าความอ่อนไหวของแสงต่อภาพที่เราจะทำถ่ายและบันทึกลงกล้อง ค่าความไวแสงนี้หากมีตัวเลขที่น้อย ภาพส่วนใหญ่ที่ได้จะมีแสงที่มืดกว่า ภาพที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสงที่สูงกว่า แต่ภาพที่สว่างกว่าก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไปน้ะครับ เพราะว่าจะต้องแลกกับรูปภาพที่อาจจะไม่สมบูรณ์ของภาพที่ถูกแสงจุดเล็กๆ ส่งเข้ามาเกินกว่าความจำเป็น จนเกิดเป็น Image Noise เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นควรปรับค่าความไวแสงให้เหมาะสมกับสภาพแสงในสถานที่ที่เราทำการถ่ายรูปอยู่
เรื่องของค่าความไวแสงนั้น มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ จึงได้เกิดการตั้งมาตรฐานต่างๆสำหรับค่าความไวแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ เช่น ค่าความเร็วชัตเตอร์ควรเป็น เท่าไหรจึงจะได้ค่าความไวแสงเป็นเท่านี้ ร่วมถึงสูตรสมการต่างๆในการหาค่า Sensitivity โดยค่าแปรพันตาม Shutter Speed โดยแบ่งเป็นสูตรสมการสำหรับภาพขาวดำ และสูตรสมการสำหรับภาพสี
ในแต่ละบริษัที่ผลิตกล้องจึงต้องผลิตกล้องที่มีค่า Sensitivity เป็นของตนเอง ดังนั้นหากจะให้ค่า Sensitivity ของแต่ละค่ายมีค่าที่ตรงกันจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางขึ้นมา ซึ่งมาตรฐานการนี้ออกโดย ISO ด้วยรหัสมาตรฐาน ISO 12232:1998 (1998-08) และมาตรฐานล่าสุดที่มีการใช้งานกันจะเป็น ISO 12232:2006 (2006-04-15) โดยมีการประกาศในงาน CIPA DC-004 ในปี 2006
ทิ้งท้ายด้วยภาพตัวอย่างของค่า ISO ต่ำด้านซ้าย และค่า ISO สูงด้างขวา
ซึ่งถ้าดูแบบครบองค์ประกอบจะเห็นว่าภาพที่มี ISO ที่สูงกว่า(ขวา) จะทำให้ภาพดูสว่างกว่าภาพที่มีค่า ISO ต่ำ แต่เมื่อทำการขยายภาพทั้งสองภาพ แล้วเราจะเห็นว่าภาพที่มี ISO สูงกว่าจะมีจุดแสงที่เล็ดลอดเข้ามาเกินกว่าความจำเป็น หรืออีกชื่อเราเรียกกันว่า Noise แต่ถ้าเรามาดูที่ภาพที่มี ISO ต่ำกว่า เมื่อทำการขยายภาพที่ได้จะเหมือนกับที่ตาของมนุษย์เรามองเห็นภาพดอกไม้ในธรรมชาติจริงๆมากกว่า
1.เรื่องค่าความไวแสง (Sensitivity หรือ ISO)
คงต้องกล่าวไปถึงความสว่างของกล้องฟิล์มในสมัยก่อนกัน
กล้องฟิล์มในสมัยก่อนจะมีมาตรฐานการวัดแสงที่เข้าในแผ่นฟิล์มภาพในหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็จะมีเลขกำกับปริมาณค่าตัวเลขเหล่านั้นด้วย ที่เราเคยๆได้ยินกัน ISO เท่าไหรถึงเท่าไหรนั้นแหละครับ ส่วนใหญ่ตัวเลขจะมีตั้งแต่เลข 200 -3200 (อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นกับอุปกรณ์การถ่าย)
โดยที่ค่าของความไวแสง หรือ ISO นั้นเป็นค่าความอ่อนไหวของแสงต่อภาพที่เราจะทำถ่ายและบันทึกลงกล้อง ค่าความไวแสงนี้หากมีตัวเลขที่น้อย ภาพส่วนใหญ่ที่ได้จะมีแสงที่มืดกว่า ภาพที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสงที่สูงกว่า แต่ภาพที่สว่างกว่าก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไปน้ะครับ เพราะว่าจะต้องแลกกับรูปภาพที่อาจจะไม่สมบูรณ์ของภาพที่ถูกแสงจุดเล็กๆ ส่งเข้ามาเกินกว่าความจำเป็น จนเกิดเป็น Image Noise เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นควรปรับค่าความไวแสงให้เหมาะสมกับสภาพแสงในสถานที่ที่เราทำการถ่ายรูปอยู่
เรื่องของค่าความไวแสงนั้น มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ จึงได้เกิดการตั้งมาตรฐานต่างๆสำหรับค่าความไวแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ เช่น ค่าความเร็วชัตเตอร์ควรเป็น เท่าไหรจึงจะได้ค่าความไวแสงเป็นเท่านี้ ร่วมถึงสูตรสมการต่างๆในการหาค่า Sensitivity โดยค่าแปรพันตาม Shutter Speed โดยแบ่งเป็นสูตรสมการสำหรับภาพขาวดำ และสูตรสมการสำหรับภาพสี
ในแต่ละบริษัที่ผลิตกล้องจึงต้องผลิตกล้องที่มีค่า Sensitivity เป็นของตนเอง ดังนั้นหากจะให้ค่า Sensitivity ของแต่ละค่ายมีค่าที่ตรงกันจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางขึ้นมา ซึ่งมาตรฐานการนี้ออกโดย ISO ด้วยรหัสมาตรฐาน ISO 12232:1998 (1998-08) และมาตรฐานล่าสุดที่มีการใช้งานกันจะเป็น ISO 12232:2006 (2006-04-15) โดยมีการประกาศในงาน CIPA DC-004 ในปี 2006
ทิ้งท้ายด้วยภาพตัวอย่างของค่า ISO ต่ำด้านซ้าย และค่า ISO สูงด้างขวา
ซึ่งถ้าดูแบบครบองค์ประกอบจะเห็นว่าภาพที่มี ISO ที่สูงกว่า(ขวา) จะทำให้ภาพดูสว่างกว่าภาพที่มีค่า ISO ต่ำ แต่เมื่อทำการขยายภาพทั้งสองภาพ แล้วเราจะเห็นว่าภาพที่มี ISO สูงกว่าจะมีจุดแสงที่เล็ดลอดเข้ามาเกินกว่าความจำเป็น หรืออีกชื่อเราเรียกกันว่า Noise แต่ถ้าเรามาดูที่ภาพที่มี ISO ต่ำกว่า เมื่อทำการขยายภาพที่ได้จะเหมือนกับที่ตาของมนุษย์เรามองเห็นภาพดอกไม้ในธรรมชาติจริงๆมากกว่า
ดี
ReplyDelete